วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2550

Australian English






ประวัติ
ใครที่เคยพูดภาษาอังกฤษกับชาวออสเตรเลี่ยนจะรู้สึกแปร่งๆ หูเพราะสำเนียงอาจแตกต่างจากสำเนียงที่เราเคยได้ยินภาษาอังกฤษแบบอเมริกันจากสื่อต่างๆ ทางโทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ บางคนอาจฟังไม่รู้เรื่องเสียด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตามภาษาอังกฤษแบบ Australian English ก็เป็นภาษาอังกฤษอีกแบบหนึ่งที่น่าสนใจเพราะถึงอย่างไรก็เป็นภาษาอังกฤษที่เราอาจได้ยินหรือได้ฟังในวันใดวันหนึ่ง ใม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ที่โลกนี้มี American English มี British English, African English หรือ Asian English ทำไมจะมี Australian English ไม่ได้

หากใครไม่เคยได้ยินสำเนียง Australian English ก็ลองหาหนังออสเตรเลี่ยนมาดูซักเรื่องสองเรื่อง ที่แนะนำได้แก่ Crocodile Dundee (ขอแนะนำ),The Presilla หรือ The Old Selection ก็ได้เพราะจะมีสำเนียงออสเตรเลี่ยนแท้ๆ ให้ฟังสนุกหู


ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลี่ยน หรือ Australian English มีต้นตอมาจากภาษาอังกฤษแบบ British English เกิดขึ้นหลังจากการก่อตั้งอาณานิคมแห่ง นิว เซาธ์เวลส์ เมื่อพ.ศ. 2331ได้ไม่นานนัก จุดประสงค์ของการตั้งถิ่นฐานครั้งนั้นก็เพื่อใช้เป็นสถานกักกันนักโทษหรือ penal colony บรรดานักโทษที่ถูกส่งมาอยู่ที่ออสเตรเลียนี้ส่วนใหญ่มาจากเมืองใหญ่ๆ ของอังกฤษ เช่น กลุ่มคนที่พูดภาษา Cockneys ซึ่งได้แก่คนชั้นแรงแรงงงานที่อยู่ในกรุงลอนดอน ในกลุ่มผู้ตั้งถิ่นฐานชุดแรกเหล่านี้ยังประกอบไปด้วยผู้ตั้งถิ่นฐานอิสระ เจ้าหน้าที่ทหารรวมทั้งเจ้าหน้าที่เรือนจำและครอบครัว พอถีงปี พ.ศ. 2370 Peter Cunningham ผู้แต่งหนังสือ Two Years in New South Wales รายงานไว้ว่าคนผิวขาวออสเตรเลี่ยนพื้นเมืองพูดอังกฤษด้วยสำเนียงและคำศัพท์ที่แตกต่างออกไป แม้จะออกสำเนียงไปทางสำเนียงค้อกนีย์ก็ตาม (การขนนักโทษมาส่งอาณานิคมในออสเตรเลียยุติลงเมื่อพ.ศ. 2411 แต่การเดินทางเข้าประเทศของผู้ตั้งถิ่นฐานอิสระยังคงดำเนินต่อไปไม่หยุด)


ในยุคตื่นทองช่วงแรกๆ เมื่อ พ.ศ. 2393 คลื่นผู้คนอพยพจำนวนมหึมาก็มีอิทธิพลต่อภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลี่ยนเป็นอย่างมาก ขณะนั้นเกาะอังกฤษหรือ Great Britainและ Irelandกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจและประชากรประมาณร้อยละ 2 อพยพมาอยู่ นิว เซาธ์ เวลส์และอาณานิคมวิคตอเรียในช่วงพ.ศ. 2393 ขณะเดียวกัน ผู้อพยพจำนวนมากที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองก็เริ่มเดินทางมาที่ออสเตรเลียด้วย
ภาษาอังกฤษที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวอเมริกันหรือ "Americanisation" ก็มีอิทธิพลอย่างมากเนื่องจากการยืมภาษามาจากอังกฤษแบบอเมริกาเหนือมาใช้ ไม่ว่าจะเป็น คำ การสะกด คำศัพท์เฉพาะและการใช้ภาษา โดยอิทธิพลเหล่านี้เริ่มขึ้นในยุคตื่นทองและเริ่มมีมากขึ้นในช่วงการหลั่งไหลเข้ามาของทหารอเมริกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นับตั้งแต่ พ.ศ. 2493 เป็นต้นมามีการหลั่งไหลของข้อมูลข่าวสารจากสื่อสารมวลชนที่ใช้ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน เช่นพวกนิตยสาร รายการโทรทัศน์ ซอฟแวร์คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้ก็มีอิทธพลต่อภาษาของออสเตรเลี่ยน
หากใครเคยไปนิวซีแลนด์ก็จะพบว่าภาษาอังกฤษในประเทศนี้คล้ายๆ กับที่ออสเตรเลีย อย่างไรก็ตามยังวมีความแตกต่างกันอยู่บ้างหากสังเกตให้ดี

Source: http://en.wikipedia.org/wiki/Australian_English#History


หาข้อมูลเพิ่มได้ที่ Koala Net

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

"ภาษาไทย"ในบทแปลภาพยนต์

ได้ดู ภาพยนตร์เรื่องหนึ่งจากเคเบิลทีวี ผู้พากได้ให้เสียงตัวประกอบคนหนึ่งใจความว่า “นายจะต้องขึ้นตะแกรงปิ้งย่าง” ฟังดูแหม่งๆ พิกล เพราะประโยคนี้น่าจะมาจาก “You would be grilled” จะโทษคนพากก็ไม่ได้เพราะเขาอ่านบทจากผู้แปล ทำให้คิดว่า หากผู้แปลใช้ภาษาไทยได้ไม่ดี ก็ลำบาก ผู้ชมบางคนอาจฟังผ่านๆ ไป แต่บางคนก็ไม่ อยากให้ผู้แปลใส่ใจภาษาไทยให้มากกว่านี้

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2550

Stupidity Shock

การไม่รู้ภาษาอังกฤษไม่ใช่เรื่องผิดอะไรเพราะภาษานี้ไม่ใช่ภาษาของพ่อแม่เรา แต่การไม่รู้แล้วแสดงภูมิอวดศักดาของตนเองนี่สิเป็นเรื่องที่น่าตำหนิ

ผมเคยทำงานเป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษอยู่ที่มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งแถวๆ คลองห้า รองอธิการบดีซึ่งเป็นสตรีไม่อนุมัติให้ซื้อหนังสือเพื่อเข้าห้องสมุดโดยให้เหตุผลว่า หนังสือชื่อ Hospitality นั้นเป็นหนังสือเกี่ยวกับพยาบาล มหาวิทยาลัยแห่งนี้ไม่ได้สอนวิชานี้

ผมช้อค เพราะไม่คิดว่าอาจารย์ในมหาวิทยาลัยจะไม่รู้ภาษาอังกฤษง่ายๆ

ถึงไม่รู้ก็ควรหาความรู้หรือไถ่ถามอาจารย์ที่รู้ ไม่ใช่มั่วนิ่มแล้วตัดสินใจอย่างนั้น

นอกจากจะเห็นถึงคงวามคิดคับแคบแล้ว ยังแสดงถึง stupidity (A poor ability to understand or to profit from experience)ของตนเองออกมาด้วย เพราะ hospitality แปลว่า Kindness in welcoming guests or strangers หรือการต้อนรับขับสู้อะไรเทือกนั้น เวลาจะเลือกมหาวิทยาลัยเอกชนให้ลูกให้หลาน ก็ดูดีๆ หน่อยละกันนะครับ

วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

การอ่านคำบรรยายภาพ (How to read caption)


คำบรรยายใต้ภาพนั้นอ่านไม่ยากนักเพราะมีภาพให้เราดู บางครั้งเราแทบไม่ต้องอ่านด้วยซ้ำก็เดาเรื่องราวในภาพได้แล้ว ถ้าดูแล้ว ยังไม่รู้เรื่อง ลองดูคำบรรยายภาพนี้

A schoolgirl walks past a pawnshop advertisement showing the interest rate on pawned goods. With the new school year set to start, many parents are again exchanging goods, especially gold for cash, to pay for their children’s education.

นี่เป็นคำบรรยายภาพที่ได้มาจาก หน้าแรกของหนังสือพิมพ์ The Nation ฉบับวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ในภาพเป็นเด็กนักเรียนหญิงคนหนึ่งเดินผ่านโรงจำนำที่มีป้ายโฆษณาว่า “ดอกเบี้ย 1.25 %”

ก่อนอ่านให้ดูภาพก่อนว่าน่าจะเป็นภาพอะไรที่คนถ่ายต้องการสะท้อนหรือบอกอะไรเรา จากนั้นก็ลองอ่านคำบรรยายภาพดู ลองดูคำบรรยายภาพที่กำลังจะอ่านต่อไปนี้
ในคำบรรยายภาพมีสองประโยค ให้เราอ่านทีละประโยค
ดูประโยคแรกกันก่อน

A schoolgirl walks past a pawnshop advertisement showing the interest rate on pawned goods.
ลองดูประโยคข้างบน แล้วตั้งคำถามว่าเราเห็นอะไรบ้าง

เราอ่านอะไรได้บ้าง

เอาน่า อย่างน้อยเราอ่าน A schoolgirl ได้ มาดูต่อกันว่า แล้วเธอทำอะไร

เธอ walks เดินไปไหน หรือเดินอยู่ที่ไหน เธอเดินผ่านแผ่นป้ายโฆษณา(advertisement) ของ pawnshopหรือโรงจำนำที่โฆษณาอัตราดอกเบี้ยจำนำของ (pawned goods)

เราเดาได้แล้วนะครับว่าเด็กผู้หญิงเดินผ่านป้ายโฆษณาของโรงจำนำที่บอกว่าอัตราดอกเบี้ยของโรงจำนำอยู่ที่ ร้อยละ ๑.๒๕
มาดูประโยคที่สองบ้าง

With the new school year set to start, many parents are again exchanging goods, especially gold for cash, to pay for their children’s education.

เราอาจจะหาประธานของประโยคไม่เจอ เอาล่ะไม่เป็นไร ค่อยๆ คลำไป เราจะดูคำที่อ่านได้ก่อน เช่น parents บรรดาพ่อแม่ผู้ปกครอง
พวกเขาทำอะไร

เอาของไปตึ้งหรือจำนำ (exchanging goods) อีกโดยเฉพาะเอาทองไปจำนำ (gold for cash)เพื่อให้ได้เงินมา

จำนำทำไม เพื่อเอาไปจ่ายค่าเทอมลูกๆ (to pay for their children’s education) เพราะโรงเรียนใกล้เปิดเทอมแล้ว (With the new school year set to start)

ความหมายรวมๆ ของคำบรรยายภาพนี้ก็คือ

“ปีการศึกษาใหม่กำลังจะเริ่ม(โรงเรียนใกล้จะเปิดแล้ว) บรรดาพ่อแม่ผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยเริ่มเอาของไปจำนำกันอีกครั้ง ส่วนใหญ่จะเป็นทอง เพื่อนำเงินไปจ่ายค่าเทอมให้ลูกๆ”

ไม่ยากนะครับ ลองหัดอ่านบ่อยๆ พร้อมดูภาพประกอบไปด้วย จะทำให้เข้าได้เร็วขึ้น

วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

หัดอ่านข่าวนำกันดีกว่า


ถ้าเรายังอ่านข่าวภาษาอังกฤษไม่ได้ทั้งหมดก็ไม่เป็นไรเพราะในชีวิตจริงๆ แล้วเราก็ไม่ได้อ่านข่าวในหนังสือพิมพ์ภาษาไทยทั้งหมดเหมือนกัน ดังนั้นหากเราไม่มีเวลามาก(หรือเพิ่งเริ่มหัดอ่าน) เราก็ไม่จำเป็นต้องอ่านข่าวภาษาอังกฤษหมดทั้งข่าวเหมือนกัน อ่านเฉพาะสิ่งที่ทำให้เรารู้เรื่องหรือเข้าใจในข่าว ส่วนที่สำคัญก็คือ ส่วนที่เป็น lead หรือข่าวนำนั่นเอง
ลองดูกันที่ข่าวนี้ก่อนนะครับ
(ตัดมาจากหนังสือพิมพ์ The Nation ฉบับวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐, หน้า 4A)

MEA workers demand PM goes

The Metropolitan Electricity Authority labour’s union yesterday petitioned Council for National Security chairman General Sonthi Boonyaratglin to replace Prime Minister Surayud Chulanont.

เราเล่าให้ฟังเมื่อตอนที่แล้วว่า ส่วนที่เรียกว่า “พาดหัว (Headline)” ของข่าวนั้นค่อนข้างอ่านยากสำหรับมือใหม่ที่ยังไม่คุ้นกับข่าวภาษาอังกฤษนัก แต่หากเราติดตามข่าวอยู่เสมอเราก็จะเดาได้ อย่างเช่น หาดหัวของข่าวนี้ บอกว่าพนักงานของMEA เรียกร้องให้ PM ออกไป
ถ้าเรายังเดาไม่ออกว่า MEA คืออะไร ก็ให้เราอ่านที่Lead ซึ่งจะบอกเราเองว่า MEA คือ Metropolitan Electricity Authority หรือการไฟฟ้านครหลวง ส่วนworkers ก็แปลว่า เจ้าหน้าที่หรือคนงานหรือลูกจ้าง

ส่วน demand แปลว่า เรียกร้อง หรือต้องการ

PM เป็นตัวย่อมาจาก Prime Minister หรือ นายกรัฐมนตรีนั่นเอง

go แปลว่าไป ตรงตัว หรือในที่นี้ก็แปลว่าออกไปจากตำแหน่งนั่นเอง แต่เติม -es เพราะนายกรัฐมนตรีเป็นเอกพจน์ (แล้วจะเล่าให้ฟังเรื่อง เอกพจน์ พหูพจน์ทีหลังครับ)

กลับมาที่ข่าวนำ
ก่อนอื่นต้องหาให้ได้ว่าใคร(who) ทำอะไร(what) ที่ไหน(where) เมื่อไร(when) ทำไม(why) อย่างไร(how) การเดาอย่างนี้จะทำให้อ่านง่ายขึ้น

Who ในที่นี้ก็คือ The Metropolitan Electricity Authority labour’s union หรือสหภาพแรงงานของการไฟฟ้านครหลวง
พวกเขาทำอะไรล่ะ (what) ก็ยื่นข้อเรียกกร้องหรือ petitioned ให้กับ Council for National Security chairman General Sonthi Boonyaratglin หรือพลเอกสนธิ บุญกลินประธานคณะมนตรีความมั่งแห่งชาติหรือ คมช. (CNS)

Petition ถ้าเป็นคำนาม แปลว่า A formal message requesting something that is submitted to an authority หรือข้อความร้องเรียนเป็นทางการที่เขียนขึ้นเพื่อส่งให้ผู้มีอำนาจหรือเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ถ้าเป็นกริยาก็แปลว่า Write a petition for something to somebody; request formally and in writing หรือยื่นคำร้องให้เจ้าหน้าที่บ้านเมือง
จะpetition ทำไมล่ะ ก็เพื่อให้ to replace Prime Minister Surayud Chulanont เปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ นั่นเอง

when ก็เมื่อ วานนี้หรือ yesterday
ในข่าวนำน้ำไม่ได้บอกว่า ทำไม(why) อย่างไร(how) อาจไปบอกในparagraph ต่อๆไป
เห็นมั้ยล่ะครับว่าไม่ยากนักหากเราอ่านบ่อยๆ สะสมคำศัพท์วันละคำสองคำก็คล่องไปเองครับ
แล้วพบกันคราวหน้าครับ
Bye see ya! And have a nice day.

วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2550

ภาษาอังกฤษวันละหน่อยกับลุงวรรณ





การแนะนำลูกค้า (Introducing Clients)


"Mr. Mitchell, I’d like you to meet my manger,

Henry Lewis?”

Mr. Mitchell อาจพูดต่อไปว่า “How do you do?”

Mr. Henry ก็ตอบว่า “How do you do?” เหมือนกัน

Mr. Mitchell ก็อาจตอบว่า “Please to meet you.”

หรือ “Good to meet you.” หัดใช้บ่อยให้การทักทายเป็นไปอย่างอัตโนมัติและสุภาพ

เคล็ดในการพูด (Speaking Tips)
“How do you do?” ในภาษาอังกฤษนั้นค่อนข้างจะเป็นทางการในภาษา อังกฤษแบบ British English และการตอบในคำถามนี้ต้องเป็นการตอบทวนคำถามด้วย “How do you do?” เท่านั้น ก็แปลกดี เรียนรู้มรรยาทไว้ก็ดี ไม่เสียหลายครับ


ในงานเลี้ยงแบบไม่เป็นทางการ (At a more informal party)

เมื่อเราแนะนำให้เพื่อนสองคนรู้จักกัน เราก็พูดง่ายๆ สั้นๆ ว่า “John, this is Sarrah.” แค่นี้ก็รู้เรื่องกันแล้ว ไม่ต้องนึกถึงประโยคยาวๆ ให้ยุ่งยาก
Source: http://www.english-at-home.com/

การอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ


มีหลายคนมักถามผู้เขียนว่า “จะอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษอย่างไรให้รู้เรื่อง” เป็นคำถามที่เรามักได้ยินบ่อยๆ การอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษนั้นไม่ได้ยากกว่าที่เราคิดกัน แค่ให้รู้ว่าส่วนไหนเป็นส่วนไหน อ่านอย่างถูกวิธีเราก็สามารถเดาเรื่องในข่าวได้ แม้จะไม่ทั้งหมดก็ตาม
ก่อนอื่นต้องรู้เบื้องต้นก่อนว่าข่าวประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ เช่น
ส่วนแรก ได้แก่ Headline หรือที่บ้านเราเรียกว่า “พาดหัว”
ส่วนต่อไปเรียก Sub-Head หรือหัวรอง (บางทีก็ไม่มี)
ส่วนต่อไปเรียก ส่วนนำหรือ Lead
ถัดมาเรียก Body หรือตัวข่าว
ลองดูข่าวข้างล่างนี่ก่อนแล้วตอบคำถามในใจ(ไม่ต้องตอบดังๆ ก็ได้ เดี๋ยวชาวบ้านจะหาว่าบ้า )ว่า
Headline อยู่ไหน

Junta backs call for state religion
By Wassana Nanuam and Mongkol Bangprapa

CNS chairman Sonthi Boonyaratkalin, who is Muslim, said that recognising Buddhism as the national religion would have no impact on southern violence. "Whether or not the stipulation is added to the constitution, these thugs will continue their attacks," he said.
ถ้าเจอแล้ว ลองอ่านดูว่ารู้เรื่องหรือเปล่า ถ้าไม่รู้เรื่องก็ไม่เป็นไร
ลองอ่านส่วนต่อไปที่เรียกว่าส่วนนำหรือLead ซึ่งจะบอกเราว่า
Who? ใคร
What? ทำอะไร
Where? ที่ไหน
When ? เมื่อไร
Why? ทำไม
How? อย่างไร
อย่างไรก็ตาม ส่วนนำของข่าวอาจไม่มีทุกส่วนทั้งหมด แต่จะมีบางส่วนก็ได้ อาจมีแค่ Who What Where ก็มี
ตานี้มาลองดูกันทีละส่วน
Who? ในที่นี้เป็นCNS chairman Sonthi Boonyaratkalin พลเอกสนธิ บุญกลิน ประธาน คมช. หรือ CNS chairman (ย่อมาจาก Council of National Security) ส่วนวลีที่ว่า who is muslim นั้นเป็นส่วนขยายว่า ท่านเป็นมุสลิม เป็นคนเดียวกันกับพลเอกสนธิ

What? said that recognising Buddhism as the national religion would have no impact on southern violence กล่าวว่าการให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาตินั้นไม่มีผลกระทบต่อความรุนแรงในภาคใต้แต่อย่างใด
Where? ไม่ได้บอกตอนนี้
When ? ไม่มี
Why? ไม่บอกสาเหตุ
How? ก็ไม่มีในส่วนนี้ต้องอ่านส่วนต่อไป
หากต้องการทราบว่า ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ก็ให้ค่อยๆ อ่านในส่วนของเนื้อข่าวหรือ body
ลองอ่านดูนะครับ แล้วจะค่อยๆทะยอยนำมาเล่าสู่กันฟังเรื่อยๆ ครับ ลองฝึกอ่านดูบ่อยๆ จะเดาได้ในที่สุด

จากหนังสือพิมพ์ Bangkok Post วันที่ 25 เม.ย. 50