วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Waltzing Matilda



ถ้าใครเคยอยู่ออสเตรเลียมต้องเคยได้ยินเพลง "Waltzing Matilda" แน่ๆ เพราะเพลงนี้คนออสเตรเลียทุกคนร้องได้เหมือนกับเพลง ”ลอยกระทง” ของบ้านเรา บางคนถึงกับคิดว่าเพลงนี้เป็นเพลงชาติของเขา อันที่จริงไม่ใช่ เป็นเพลงที่ทุกคนร้องได้ติดปาก

Waltzing Matilda คำนี้เป็นคำแสลงที่ใช้เรียกคนเดินทางด้วยเท้าพร้อมของที่ใส่ Matilda หรือเป้ที่สะพายอยู่บนหลัง
เพลงนี้บรรยายเรื่องราวของคนงานจรคนหนึ่งที่เดินทางไปรับจ้างตามที่ต่างๆ ต้มชาดื่มในที่พักและไปดันจับแกะของชาวบ้านตัวหนึ่งมาเป็นอาหาร เมื่อเจ้าของแกะพาตำรวจส่ามคนจะมาจับในข้อหาขโมย(ตอนนั้นการขโมยถือเป็นอาชญากรรม อาจถูกลงโทษถึงขั้นแขวนคอได้) คนงานจรคนนั้นก็โดดน้ำตายในลำห้วยเล็กๆ แห่งนั้นจนเป็นที่เลื่องลือว่าเขามาหลอกหลอนผู้คนละแวกนั้น

เพลงนี้กวีและนักประพันธ์ชื่อดังของออสเตรเลียที่ชื่อ Banjo Paterson เขียนขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๐ จากนั้นก็มีผู้แต่งทำนองเพลงขึ้นมาเมื่อพ.ศ. ๒๔๖๖ จนภายหลังมีพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ขึ้นในรัฐควีนซ์แลนด์ของออสเตรเลีย

ภาพจาก Waltzing Matilda

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552

Australian English (10)



happy little vegemite

มาดูอีกคำหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับ vegemite นั่นคือ happy little vegemite ซึ่งหมายถึงคนออสเตรเลี่ยนโดยเฉพาะอย่างยิ่งหมายถึงคนหนุ่มสาว

คำนี้มีที่มาจากคำขวัญจากสปอตโฆษณา vegemite ทาขนมปัง เมื่อพ.ศ. ๒๔๙๓ ที่ว่า: ‘We're happy little vegemites, as bright as bright can be we, We all enjoy our vegemite for breakfast, lunch, and tea'

ก็แปลในทำนองที่ว่าเราเป็นคนหนุ่มสาว สดใสซาบซ่า เรารื่นรมย์กับ vegemite ตั้งแต่อาหารเช้า กลางวัน เย็น ส่วนใหญ่เรามักใช้คำนี้พูดกับเพื่อนๆ เช่น

"Come on, you happy little vegemites, get to work!"

ข้อมูลจาก ANU National Dictionary Centre
ภาพจาก vegemite

Vegemite



ใครที่เคยอยู่ออสเตรลียหรือไปเที่ยวออสเตรเลียนานๆ มักจะคุ้นกับ Vegemite

แล้ว Vegemite คืออะไรล่ะ

Vegemite มีลักษณะคล้ายๆ เนยถั่วหรือ peanut butter สีออกคล้ำๆ หนักไปทางสีดำ รสออกเค็มๆ ใช้ทาขนมปังรับประทาน บางคนที่ไม่ชอบก็บอกว่ากลิ่นเหม็น

Vegemite เป็นสารสกัดมาจากยีสต์ที่เหลือมาจากการหมักเบียร์กับพวกผักต่างๆ นับว่าเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูงเพราะอุดมไปด้วยวิตามิน B

ว่ากันว่า Vegemite เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมออสเตรเลียเหมือนกับจิงโจ้และรถ Holden เหมือนกัน บ้างก็ว่าเป็นสัญญลักษณ์ของออสเตรเลียทีเดียว หากถามคนออสเตรเลี่ยน ไม่มีใครไม่รู้รัก Vegemite เวลาไปไหนมาไหนก็มักมี Vegemite ติดกระเป๋าเดินทางไปด้วยเหมือนกับน้ำพริกเผาของบ้านเรา

เด็กๆ ออสเตรเลี่ยนส่วนใหญ่เติบโตมากับ Vegemite เพราะรับประทานกันมาตั้งแต่เป็นทารก

ภาพจาก Vegemite

วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2552

Australian English (9)(Milk Bar 2)



Milk bar ในความหมายของออสเตรเลียนั้นหมายถึง ร้านขายของสารพัดที่อยู่นอกเมืองหรือในท้องถิ่นต่างๆ ขายของกระจุกกระจิกทุกอย่างตั้งแต่ไอสครีม ลูกอม ช้อกโกแลท เครื่องดื่ม หนังสือพิมพ์ ขนมปังไปจนถึงอาหารกินเล่นหรือแม้แต่อาหารฟาสฟู้ดที่อาจารย์ล้อม เพ็งแก้ว ให้คำจำกัดความว่า “แดกด่วน” นั่นเอง

ธุรกิจแฟรนไชส์ milk bar นี้เปิดตัวครั้งแรกโดย Burt Brothers เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ ต่อมาแนวคิดนี้ได้ขยายตัวข้ามน้ำข้ามทะเลออกไปยังประเทศอังกฤษและพอสิ้นปี พ.ศ. ๒๔๗๙ มีร้านประเทภท milk bar เปิดให้บริการกว่า ๑,๐๐๐ ร้าน แม้แต่ในอเมริกาก็ยังรู้จัก milk bar

ในช่วงปลายๆ พ.ศ. ๒๔๘๓ ร้าน milk bar ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไป ไม่ใช่แค่ร้านขายของสารพัดเท่านั้น แต่ยังกลายเป็นสถานที่ที่วัยรุ่นสามารถจะซื้ออาหารพร้อมรับประทาน เครื่องดื่มไร้แอลกอฮอลและเป็นที่ที่พวกเขามาพบปะจะเจอกัน บางครั้ง milk bar ก็มีตู้เพลง ตู้บอล ต่อมาก็อัพเกรดไปเป็นตู้เกมให้เด็กเล่นกัน

ร้าน milk bar ในฐานะที่เป็นสถานที่พบปะพูดคุยก็ค่อยๆ ถูกแทนที่ด้วยร้านประเภท “แดกด่วน” เช่นร้าน McDonald และห้างสรรพสินค้าต่างๆ ร้านรวงประเภท milk bar ค่อยๆลงหลุมไปทีละรายสองราย แต่ก็ยังมีเหลือให้เห็นตามพื้นที่ห่างไกลหรือในเขตชนบท แต่ก็ไม่มีใครตอบได้ว่าจะยังคงอยู่ได้อีกนานแค่ไหน นับเป็นโศกนาฏกรรมของวัฒนธรรมออสเตรเลียอีกอย่างหนึ่ง

เรียบเรียงจาก Wikipedia
ภาพจาก Wikipedia

วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Australian Language (9)


(Lara Jeyden และ Paul Anderson, Ambulance drivers, Townsville. ภาพ: News Ltd Library)

Ambo

หมายถึง เจ้าหน้าที่รถพยาบาล คำนี้เป็นคำย่อของ Ambulance ที่มีสระโอ (O) ตามหลังตาม เป็นรูปแบบของการสร้างคำในภาษา(อังกฤษแบบ)ออสเตรเลียนเหมือนคำอื่นๆ อีกหลายคำ เช่น คำว่า Arvo (afternoon) หรือคำว่า Salvo (Salvation Army Officer)

Ambo ถูกบันทึกเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓

เรียบเรียงจาก Australian National Dictionary Centre

ภาพจากเว็บ careerone

วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Australian Language (8)




akubra

akubra เป็นหมวกปีกกว้าง หมวกดีๆ ทำมาจากขนกระต่าย เป็นหมวกที่ใช้กันในเขตชนบท นักการเมืองก็ชอบใส่ (โดยเฉพาะนักการเมืองที่อยู่ในเมือง) เดินทางไปเขตชนบทห่างไกล ชาวต่างชาติก็ชอบใส่เพื่อแสดงความเป็นออสเตรเลี่ยน

ปัจจุบันชื่อหมวก akubra นี้โด่งดังมาก คำนี้ไม่ทราบที่มา แต่สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากภาษาแอบอริจิ้น ชนพื้นเมืองของออสเตรเลีย คำนี้ถูกบันทึกไว้ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๓

ภาพจาก Flickr

Australian Language (7)


Banana bender

เป็นคำที่ใช้เรียกคนที่มาจากรัฐควีนสแลนด์ (A Queenslander)

คำนี้น่าจะมาจากคำพูดติดตลก ว่าชาวควีนส์แลนด์นั้นมัวแต่งอลูกกล้วย เนื่องจากรัฐนี้สมัยก่อนปลูกกล้วยหอมมากเพราะมีภูมิอากาศร้อนแบบบ้านเรา ว่ากันว่าคำนี้ใช้กันครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๗

นอกจากนั้นคนออสซี่ยังเรียกชายแดนของควินส์แลนด์ว่า Banana curtain และเรียกเมืองบริสเบนว่า Banana city อีกด้วย

ข้อมูลจาก Australian National Dictionary Centre

ภาพจาก Outdoor Webshot.com

วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Australian Language (6)


Bathers swimming costume

ก็ชุดว่ายน้ำหรือเล่นน้ำนั่นแหละครับ

ที่ทัสเมเนียนั้น ไม่สามารถเล่นน้ำทะเลได้ทุกฤดูเพราะอากาสเย็นมาก แต่สระน้ำในร่มหลายแห่งมีฮีทเตอร์ทำให้น้ำในสระอุ่น ไม่หนาว ว่ายน้ำได้ แต่ต้องเสียตังค์ครับ สระน้ำที่มหาวิทยาลัย เล่นฟรี แต่หน้าหนาว เล่นไม่ได้ อยากเล่นน้ำ ต้องไปเล่นที่ indoor swimming pool

ภาพจาก Swimming Central

Australian Language (5)


Barbie : barbecue (noun)

เรียกย่อๆ ว่า BBQ ก็คือ บาบิคิวนั่นเอง แต่บีบีคิวที่โน่น รูปแบบอาจต่างกันนิดนึง เขาเอาเนื้อ เอาหมู ใส้กรอกหรือเนื้อแกะก็ได้ มาย่าง บนเตาที่มีตะแกรงย่าง สุกแล้วก็ใส่จาน ราดน้ำจิ้มหรือซอสกันไปตามเรื่อง ก็คุยกันไปดื่มกินไป สนุกอีกแบบ

ส่วนบีบีคิวบ้านเรา มีไม้เสียบไว้ให้เสร็จ ไม้นึง กินไม่อิ่ม ที่โน่น จานเดียว หายอยากไปเป็นอาทิตย์เลย

ตอนเป็นนักเรียนที่โน่น เราหมั่น(สอดส่ายสายตา)ดูบอร์ดต่างๆ ที่มีกระดาษแปะเขียนไว้ว่า Free BBQ เป็นอันเสร็จเรา เพราะชมรมต่างๆ ในมหาวิทยาลัยจัดปาร์ตี้บ่อย แล้วก็เชิญคนนอกด้วย อาหารเย็นก็ไม่ต้องทำในวันนั้น แถมมีเครื่องดื่มไว้รองรับด้วย แหม เปรี้ยวปาก

ภาพจาก Cairns Visitors

Australian Language (4)




Billy
ก็เป็นกาต้มน้ำที่เราเคยเห็นนั่นแหละ แต่ในบ้านเราบางทีอาจจะมีรูปร่างแตกต่างกันไป บางทีบ้านเราเรียกหม้อหู หรือหม้ออวย

ภาพจาก eaten in traslation

Australian Language (3)



Billabong

an ox-bow river or watering hole

อธิบายง่ายๆ ว่าเป็นทางน้ำที่แยกออกมาจากแม่น้ำหรือลำน้ำใหญ่ บางฤดูก็น้ำแห้ง บางช่วงก็น้ำหลาก

ภาพจาก mongabay.com

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Australian Language (2)



Aussie เป็นคำสรรพนาม แปลได้ว่าชาวออสเตรเลียน(Australian)อาจเขียนได้อีกอย่างหนึ่งว่า Ozzie

Aerial pingpong หมายถึงฟุตบอลที่ชาวออสเซี่เล่นกัน (Australian Rules football หรือที่เรียกันว่า Footy) ไม่เหมือนกับซ้อกเกอร์หรือฟุตบอลที่เราเล่นกัน และก็ไม่เหมือนอเมริกันฟุตบอลของอเมริกัน สนามเป็นรูปไข่ ไม่ใช่สี่เหลี่ยมแบบฟุตบอล ผู้เล่นจะพาลูกวิ่งหนีไปแบบรักบี้ไม่ได้ เวลาจะส่งให้เพื่อน ก็ใช้มือทอยเอา เมื่อฤดูแข่งขันมาถึงชาวออสซี่ไม่เป็นอันทำอะไร จะเข้าไปนั่งเชียร์ทีมที่ตัวเองชอบที่ขอบสนามหรือไม่ก็นั่งอยู่หน้าโทรทัศน์ ดื่มเบียร์เชียร์ทีมของตน

ภาพจาก AFL

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ข้อความแปลผิดเพี่ยน


ผู้ที่ค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตซึ่งเว็บไซต์เป็นภาษาอังกฤษและมีโปรแกรมแปลให้ ผู้เขียนเห็นว่าบางทีก็เป็นประโยชน์ แต่บางทีก็ไม่รู้เรื่อง เพราะข้อมูลคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง

นี่เป็นตัวอย่างข้อความในเว็บไซต์ของเรือ Spirit of Tasmania ซึ่งเป็นชื่อเรือข้ามฟาก (Ferry) วิ่งระหว่าง Melbourne กับTasmania ของออสเตรเลีย ลองดูตัวอย่างกัน

Welcome

Spirit of Tasmania sails between Melbourne and Devonport (Tasmania). Sailing from both locations most nights. And some days during peak periods. Feel your holiday start the moment you step on board. And relax!

Travel before 13 September from just $82 each way!

Book accommodation in Tasmania now

$49* Day Tickets from Devonport...limited time only!

Ever wondered what it looks like on board the ships? Take our virtual tour


แต่ในโปรแกรมเขาแปลออกมาอย่างนี้ครับ

ยินดีต้อนรับ!

วิญญาณของแทสมาเนีย sails ระหว่าง Devonport และเมลเบิร์น (แทสมาเนีย). การแล่นเรือใบจากตำแหน่งที่สุดทั้งคืน. และบางคนในระหว่างวันสิขรช่วง. วันหยุดของคุณเริ่มต้นทันทีที่คุณขั้นตอนบนกระดาน. และผ่อนคลาย!

ก่อนเดินทาง 13 กันยายนจากเพียง $ 82 แต่ละวิธี!

จองที่พักในแทสมาเนียเดี๋ยวนี้

$ 49 * วันตั๋วจาก Devonport ... จำกัดเวลาเท่านั้น!

เคยสงสัยสิ่งที่ดูเหมือนว่าในกระดานเรือ? พาของเราทัวร์เสมือน

เป็นอย่างไรบ้าง อ่านแล้วก็คงเวียนหัว แต่ก็พอกล้อมแกล้มไปแม้จะรู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง ทางที่ดีควรอ่านเองจะดีกว่าเพราะจะไม่สับสน ที่น่าตลกก็คือ Peak period เขาแปลว่า สิงขรช่วง ใครที่แปลเองอย่างนี้ คงฮากันตึมเพราะ Peak period นั้นหมายถึงช่วงที่มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวกันมาก เช่นช่วงฤดูร้อนเป็นต้น

ข้อความข้างต้นเป็นข้อความโฆษณาของเรือข้ามฟากครับ คิดว่าคงไม่ต้องแปลให้นะครับเพราะง่าย และสั้นๆ ลองหัดอ่านดูแล้วเทียบกับที่โปรแกรมแปลใน google แปลมาให้


ข้อมูลจาก Spirit of Tasmania

ภาพจาก Sweet Villas

วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Australian Language


ลองดู Australian English สักสองสามคำก่อนนะครับ

คำแรกได้แก่ bottle shop (Liquor store)ใช้เรียกชื่อร้านที่ขายเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอลซึ่งที่ออสเตรเลียนั้น ใครอยากจะกินเบียร์กินเหล้า ดื่มไวน์ก็ต้องไปที่ bottle shop จะเข้าไปซื้อตามร้านสะดวกซื้อหรือซูเปอร์มาเก็ตแบบในบ้านเรานั้นทำไม่ได้ ผิดกฎหมาย ใครจะเดินกินเหล้าไปเรื่อยก็ไม่ได้ ให้ไปกินในบ้านของตนเองหรือที่ pub ที่มีอยู่ทั่วไป

ต่อมาคือ BYO. ที่ย่อมาจาก Bring your own (wine) คำนี้จะปิดอยู่หน้าร้านอาหารและภัตราคารที่ไม่มีใบอนุญาตให้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล แต่ทางการอนุญาตให้ลูกค้าเอาไวน์มาดื่มกับอาหารในร้านได้ ร้านไหนไม่มีป้ายที่ว่านี้เอาไวน์ไปดื่มไม่ได้

คำต่อไป bushfire ที่ออสเตรเลียเรียกไฟป่า บางรัฐเกิดไฟป่าบ่อยมาก และแต่ละครั้งไฟลามไปรวดเร็วมากเพราะพื้นที่ส่วนใหญ่มีต้นยูคาหรือต้นกัม (eucalypt) เยอะมาก ต้นไม้ที่ว่านี้มีน้ำมันมากก็เลยทำให้ติดไฟได้เร็ว ลามไปทั่ว ตัวโคอาล่า และสัตว์อื่นๆ ที่อยู่ตามต้นใม้หนีไม่ทันก็ตายอย่างน่าสงสาร

เอาอีกคำสำหรับคราวนี้ได้แก่ milk bar หรือร้านขายของสารพัดตามหมู่บ้านนั่นแหละ สมัยก่อนยังไม่มีร้านสะดวกซื้อแบบเซเว่น ร้านเหล่านี้จะขายของใช้ในบ้านทุกอย่างตั้งแต่มันฝรั่งทอดที่เขาเรียกว่า chips (แต่บ้านเราเรียกตามอเมริกันว่า French Fried) ไปจนถึงยาสีฟัน สบู่ ผงซักฟอกไปตามเรื่อง นับว่าเป็นวัฒนธรรมของเขาอีกอย่าง แต่หลังๆ มานี้ ก็มีร้านแบบอมริกันเข้ามาไม่ว่าจะเป็นร้านเซเว่น เบอร์เกอร์ คิงหรือซูเปอร์ข้ามชาติใหญ่ๆ แต่ที่นั่น(ขณะที่ผมเรียนอยู่ ไม่มีเทสโก้ โลตัส แต่มีซุปเปอร์ที่ดำเนินการโดยคนท้องถิ่น เช่น Cole Supermarket และ Woolworth เป็นต้น

ปัจจุบัน milk bar ได้รับผลกระทบอย่างแรงจากร้านสะดวกซื้อ ก็คล้ายๆ กับบ้านเรา ร้านสะดวกซื้อหรือแถวๆ บ้านผมเรียกร้านขายของสารพัดก็ได้รับผลกระทบด้วย หนีไม่พ้น

ภาพ Street Milk Bar - Bendigo, Australia จาก Flickr

ภาษาไทย ภาษาของเรา


ขอนอกเรื่องภาษาอังกฤษหน่อยนะครับ อยากเขียนเรื่องภาษาไทยของเราบ้าง

ไม่ได้เห่อเขียนเรื่องรักภาษาไทยในวัน “ภาษาไทย” ของเรา แต่อยากจะชี้ให้เห็นว่า ในประเทศเอเชียอาคเนย์นั้น มีประเทศไทยประเทศเดียวที่ยังรักษาภาษาซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชนชาติเราไว้ได้อย่างเหนียวแน่น น่าภูมิใจจะตาย

ประเทศอื่นๆ ที่อยู่ในละแวกภูมิภาคหรือใกล้ๆ บ้านเรานั้นสูญเสียภาษาเขียนไปหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นอินโดนิเชีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ไม่ต้องพูดถึง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของเขาไปแล้ว

แม้แต่ประเทศเวียตนามใกล้ๆ บ้านเราก็ไม่มีภาษาเขียนที่เป็นของตนเองแล้วต้องใช้ภาษาเขียนก็ใช้อักษรของลาติน เนื่องจากเคยเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสมาก่อน ส่วนภาษาพูดของเขานั้นก็เอามาจากภาษาจีนเสียเยอะ

ถามว่าแล้วเขาไม่มีนักวิชาการที่รักชาติหรือวัฒนธรรมของตัวเองเป็นตัวตั้งตัวตีเพื่อจะให้ภาษาดั้งเดิมของเขากลับมาเลยหรือ

คำตอบก็คิอ มี แต่ถ้าทำอย่างนั้นก็จะยิ่งทำให้จำนวนผู้ไม่รู้หนังสือเพิ่มหนักขึ้นไปอีกเพราะการจะมาตั้งต้นเรียนภาษาใหม่(หรือเก่าดั้งเดิมของเขา)นั้นต้องใช้เวลานานหนึ่งชั่วคนเชียว

เห็นมั้ยครับว่ากว่าเราจะรู้ว่าเรามีวัฒนธรรมที่รุ่มรวยก็ต่อเมื่อเราสูญเสียวัฒนธรรมไปแล้วโดยเฉพาะวัฒนธรรมทางภาษาของเรา
การเรียนภาษาอื่นๆไว้เป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องไม่ทำลายวัฒนธรรมทางภาษาดั้งเดิมของเรานะครับ

ภาพจาก วิกิพีเดีย

วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Fair dinkum


Fair dinkum เป็นคำเก่าแก่ใช้แสดงความรู้สึกในภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลี่ยน คำนี้ใช้กันทั่วไปในสมัยก่อนและเป็นคำที่ถูกยกเป็นตัวอย่างของภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลี่ยน
ลองดูตัวอย่างคำพูดที่คนดังๆ ของออสเตรลียกล่าวไว้

“It's got to be a fair dinkum change of heart. We all know what that is.”อดีตนายกรัฐมนตรีจอห์น ฮาวเวิร์ดของออสเตรเลียที่พูดเกี่ยวกับอีรัก ขณะที่เยือนอเมริกา (Sydney Morning Herald, Feb 10 03)

“So be fair dinkum, and vote yes, yes for an Australian Head of State”
คำพูดของอดีตนายกรัฐมนตรี บ้อบ ฮ้อก ของออสเตรเลียอีกคน (31 October 1999)

“Let us get fair dinkum when considering the form of rehabilitation in the early intervention programs.”สมาชิกรัฐสภา Hon. Mr Mitchell, MP, 24 March 1999

“I met a lot of shallow types over there to do with the movie. They do this thing where they hug ya. My mum taught me that a hug was getting your hearts close to show love, a fair-dinkum thing. But these people are chunks of steel, like concrete mate.”
Steve Irwin (Crock Hunter), Is this the best known Aussie in the world?, Sydney Morning Herald, 7 September 2002

เราคนไทยที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ ก็ยากที่จะหาคำแปลตรงๆ แต่ลองอ่านปริบทในคำพูดของผู้พูดเหล่านี้แล้วเดาความหมายกันดูนะครับ

"Mate, are you fair dinkum?" - Kind Sir, are you telling me the truth, the whole truth and nothing but the truth?

"Mate, I'm fair dinkum, bloody oath I am" - Why of course!!

"He's a fair dinkum drongo" - He is honestly quite a fool who isn't too bright and gets nothing right. The fair dinkum adds the honestly part to the translation, the rest comes from drongo.

"You have to let him know you're fair dinkum" - You have to let him know you are bona fide.

"Fair dinkum?" - No shit?

เป็นไงบ้างครับอ่านแล้ว พอจะเข้าก็ถือว่าเดาถูกแล้วครับ คิดว่าไม่ยาก

แหล่งที่มา Australian Beers
ภาพจาก http://static.cricinfo.com/db/PICTURES/CMS/74500/74525.jpg

ค้นหาความหมายและแหล่งที่ของ Fair Dinkum เพิ่มเติมได้ที่ Urban Dictionary

วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2552

Australian Day or Invasion Day?

New debate Down Under: Australian Day or Invasion Day?

SYDNEY, Australia -- An Aboriginal leader named Australian of the Year on Monday said the government should consider changing the date of Australia's national holiday because many indigenous people view it as celebrating the invasion of their homeland.

เอาข่าวนี้มาให้เรียนเพื่อให้เข้าใจปูมหลังของออสเตรเลียและเข้าใจความรู้สึกของคนพื้นเมืองดั้งเดิมที่ตั้งรกรากอยูในออสเตรเลียมาก่อนคนผิวขาวจากยุโรปเข้ามายึดครอง

พาดหัวข่าวบอกว่า
การหารือครั้งใหม่ในออสเตรเลีย ว่าวันชาติของออสเตรเลียหรือว่าวันยึดครองกันแน่

ซิดนีย์, ออสเตรเลีย - ผู้นำของชนพื้นเมืองออสเตรเลียผู้หนึ่งกล่าวถึงวันชาติของออสเตรเลียว่า รัฐบาลควรพิจารณาเปลี่ยนวันชาติของออสเตรเลียเสียใหม่เพราะคนพื้นเมืองของออสเตรเลียเห็นว่าวันชาติวันนี้เป็นวันฉลองการรุกรานของแผ่นดินเกิดพวกเขา


คำศัพท์ที่น่าสนใจ

Down Under เป็นคำที่ชาวออสเตรเลียเรียกประเทศของตัวเอง นั่นคือประเทศออสเตรเลียนั่นเอง นัยว่าเป็นประเทศที่อยู่ข้างล่างของโลกติดขั้วโลกใต้หรือ Antarctica

indigenous people หมายถึงคนพื้นเมืองของออสเตรเลีย คือพวก aborigines นั่นเอง


จาก หนังสือพิมพ์ The China Post, Tuesday, January 27, 2009

วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2550

Australian English






ประวัติ
ใครที่เคยพูดภาษาอังกฤษกับชาวออสเตรเลี่ยนจะรู้สึกแปร่งๆ หูเพราะสำเนียงอาจแตกต่างจากสำเนียงที่เราเคยได้ยินภาษาอังกฤษแบบอเมริกันจากสื่อต่างๆ ทางโทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ บางคนอาจฟังไม่รู้เรื่องเสียด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตามภาษาอังกฤษแบบ Australian English ก็เป็นภาษาอังกฤษอีกแบบหนึ่งที่น่าสนใจเพราะถึงอย่างไรก็เป็นภาษาอังกฤษที่เราอาจได้ยินหรือได้ฟังในวันใดวันหนึ่ง ใม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ที่โลกนี้มี American English มี British English, African English หรือ Asian English ทำไมจะมี Australian English ไม่ได้

หากใครไม่เคยได้ยินสำเนียง Australian English ก็ลองหาหนังออสเตรเลี่ยนมาดูซักเรื่องสองเรื่อง ที่แนะนำได้แก่ Crocodile Dundee (ขอแนะนำ),The Presilla หรือ The Old Selection ก็ได้เพราะจะมีสำเนียงออสเตรเลี่ยนแท้ๆ ให้ฟังสนุกหู


ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลี่ยน หรือ Australian English มีต้นตอมาจากภาษาอังกฤษแบบ British English เกิดขึ้นหลังจากการก่อตั้งอาณานิคมแห่ง นิว เซาธ์เวลส์ เมื่อพ.ศ. 2331ได้ไม่นานนัก จุดประสงค์ของการตั้งถิ่นฐานครั้งนั้นก็เพื่อใช้เป็นสถานกักกันนักโทษหรือ penal colony บรรดานักโทษที่ถูกส่งมาอยู่ที่ออสเตรเลียนี้ส่วนใหญ่มาจากเมืองใหญ่ๆ ของอังกฤษ เช่น กลุ่มคนที่พูดภาษา Cockneys ซึ่งได้แก่คนชั้นแรงแรงงงานที่อยู่ในกรุงลอนดอน ในกลุ่มผู้ตั้งถิ่นฐานชุดแรกเหล่านี้ยังประกอบไปด้วยผู้ตั้งถิ่นฐานอิสระ เจ้าหน้าที่ทหารรวมทั้งเจ้าหน้าที่เรือนจำและครอบครัว พอถีงปี พ.ศ. 2370 Peter Cunningham ผู้แต่งหนังสือ Two Years in New South Wales รายงานไว้ว่าคนผิวขาวออสเตรเลี่ยนพื้นเมืองพูดอังกฤษด้วยสำเนียงและคำศัพท์ที่แตกต่างออกไป แม้จะออกสำเนียงไปทางสำเนียงค้อกนีย์ก็ตาม (การขนนักโทษมาส่งอาณานิคมในออสเตรเลียยุติลงเมื่อพ.ศ. 2411 แต่การเดินทางเข้าประเทศของผู้ตั้งถิ่นฐานอิสระยังคงดำเนินต่อไปไม่หยุด)


ในยุคตื่นทองช่วงแรกๆ เมื่อ พ.ศ. 2393 คลื่นผู้คนอพยพจำนวนมหึมาก็มีอิทธิพลต่อภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลี่ยนเป็นอย่างมาก ขณะนั้นเกาะอังกฤษหรือ Great Britainและ Irelandกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจและประชากรประมาณร้อยละ 2 อพยพมาอยู่ นิว เซาธ์ เวลส์และอาณานิคมวิคตอเรียในช่วงพ.ศ. 2393 ขณะเดียวกัน ผู้อพยพจำนวนมากที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองก็เริ่มเดินทางมาที่ออสเตรเลียด้วย
ภาษาอังกฤษที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวอเมริกันหรือ "Americanisation" ก็มีอิทธิพลอย่างมากเนื่องจากการยืมภาษามาจากอังกฤษแบบอเมริกาเหนือมาใช้ ไม่ว่าจะเป็น คำ การสะกด คำศัพท์เฉพาะและการใช้ภาษา โดยอิทธิพลเหล่านี้เริ่มขึ้นในยุคตื่นทองและเริ่มมีมากขึ้นในช่วงการหลั่งไหลเข้ามาของทหารอเมริกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นับตั้งแต่ พ.ศ. 2493 เป็นต้นมามีการหลั่งไหลของข้อมูลข่าวสารจากสื่อสารมวลชนที่ใช้ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน เช่นพวกนิตยสาร รายการโทรทัศน์ ซอฟแวร์คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้ก็มีอิทธพลต่อภาษาของออสเตรเลี่ยน
หากใครเคยไปนิวซีแลนด์ก็จะพบว่าภาษาอังกฤษในประเทศนี้คล้ายๆ กับที่ออสเตรเลีย อย่างไรก็ตามยังวมีความแตกต่างกันอยู่บ้างหากสังเกตให้ดี

Source: http://en.wikipedia.org/wiki/Australian_English#History


หาข้อมูลเพิ่มได้ที่ Koala Net

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

"ภาษาไทย"ในบทแปลภาพยนต์

ได้ดู ภาพยนตร์เรื่องหนึ่งจากเคเบิลทีวี ผู้พากได้ให้เสียงตัวประกอบคนหนึ่งใจความว่า “นายจะต้องขึ้นตะแกรงปิ้งย่าง” ฟังดูแหม่งๆ พิกล เพราะประโยคนี้น่าจะมาจาก “You would be grilled” จะโทษคนพากก็ไม่ได้เพราะเขาอ่านบทจากผู้แปล ทำให้คิดว่า หากผู้แปลใช้ภาษาไทยได้ไม่ดี ก็ลำบาก ผู้ชมบางคนอาจฟังผ่านๆ ไป แต่บางคนก็ไม่ อยากให้ผู้แปลใส่ใจภาษาไทยให้มากกว่านี้

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2550

Stupidity Shock

การไม่รู้ภาษาอังกฤษไม่ใช่เรื่องผิดอะไรเพราะภาษานี้ไม่ใช่ภาษาของพ่อแม่เรา แต่การไม่รู้แล้วแสดงภูมิอวดศักดาของตนเองนี่สิเป็นเรื่องที่น่าตำหนิ

ผมเคยทำงานเป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษอยู่ที่มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งแถวๆ คลองห้า รองอธิการบดีซึ่งเป็นสตรีไม่อนุมัติให้ซื้อหนังสือเพื่อเข้าห้องสมุดโดยให้เหตุผลว่า หนังสือชื่อ Hospitality นั้นเป็นหนังสือเกี่ยวกับพยาบาล มหาวิทยาลัยแห่งนี้ไม่ได้สอนวิชานี้

ผมช้อค เพราะไม่คิดว่าอาจารย์ในมหาวิทยาลัยจะไม่รู้ภาษาอังกฤษง่ายๆ

ถึงไม่รู้ก็ควรหาความรู้หรือไถ่ถามอาจารย์ที่รู้ ไม่ใช่มั่วนิ่มแล้วตัดสินใจอย่างนั้น

นอกจากจะเห็นถึงคงวามคิดคับแคบแล้ว ยังแสดงถึง stupidity (A poor ability to understand or to profit from experience)ของตนเองออกมาด้วย เพราะ hospitality แปลว่า Kindness in welcoming guests or strangers หรือการต้อนรับขับสู้อะไรเทือกนั้น เวลาจะเลือกมหาวิทยาลัยเอกชนให้ลูกให้หลาน ก็ดูดีๆ หน่อยละกันนะครับ

วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

การอ่านคำบรรยายภาพ (How to read caption)


คำบรรยายใต้ภาพนั้นอ่านไม่ยากนักเพราะมีภาพให้เราดู บางครั้งเราแทบไม่ต้องอ่านด้วยซ้ำก็เดาเรื่องราวในภาพได้แล้ว ถ้าดูแล้ว ยังไม่รู้เรื่อง ลองดูคำบรรยายภาพนี้

A schoolgirl walks past a pawnshop advertisement showing the interest rate on pawned goods. With the new school year set to start, many parents are again exchanging goods, especially gold for cash, to pay for their children’s education.

นี่เป็นคำบรรยายภาพที่ได้มาจาก หน้าแรกของหนังสือพิมพ์ The Nation ฉบับวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ในภาพเป็นเด็กนักเรียนหญิงคนหนึ่งเดินผ่านโรงจำนำที่มีป้ายโฆษณาว่า “ดอกเบี้ย 1.25 %”

ก่อนอ่านให้ดูภาพก่อนว่าน่าจะเป็นภาพอะไรที่คนถ่ายต้องการสะท้อนหรือบอกอะไรเรา จากนั้นก็ลองอ่านคำบรรยายภาพดู ลองดูคำบรรยายภาพที่กำลังจะอ่านต่อไปนี้
ในคำบรรยายภาพมีสองประโยค ให้เราอ่านทีละประโยค
ดูประโยคแรกกันก่อน

A schoolgirl walks past a pawnshop advertisement showing the interest rate on pawned goods.
ลองดูประโยคข้างบน แล้วตั้งคำถามว่าเราเห็นอะไรบ้าง

เราอ่านอะไรได้บ้าง

เอาน่า อย่างน้อยเราอ่าน A schoolgirl ได้ มาดูต่อกันว่า แล้วเธอทำอะไร

เธอ walks เดินไปไหน หรือเดินอยู่ที่ไหน เธอเดินผ่านแผ่นป้ายโฆษณา(advertisement) ของ pawnshopหรือโรงจำนำที่โฆษณาอัตราดอกเบี้ยจำนำของ (pawned goods)

เราเดาได้แล้วนะครับว่าเด็กผู้หญิงเดินผ่านป้ายโฆษณาของโรงจำนำที่บอกว่าอัตราดอกเบี้ยของโรงจำนำอยู่ที่ ร้อยละ ๑.๒๕
มาดูประโยคที่สองบ้าง

With the new school year set to start, many parents are again exchanging goods, especially gold for cash, to pay for their children’s education.

เราอาจจะหาประธานของประโยคไม่เจอ เอาล่ะไม่เป็นไร ค่อยๆ คลำไป เราจะดูคำที่อ่านได้ก่อน เช่น parents บรรดาพ่อแม่ผู้ปกครอง
พวกเขาทำอะไร

เอาของไปตึ้งหรือจำนำ (exchanging goods) อีกโดยเฉพาะเอาทองไปจำนำ (gold for cash)เพื่อให้ได้เงินมา

จำนำทำไม เพื่อเอาไปจ่ายค่าเทอมลูกๆ (to pay for their children’s education) เพราะโรงเรียนใกล้เปิดเทอมแล้ว (With the new school year set to start)

ความหมายรวมๆ ของคำบรรยายภาพนี้ก็คือ

“ปีการศึกษาใหม่กำลังจะเริ่ม(โรงเรียนใกล้จะเปิดแล้ว) บรรดาพ่อแม่ผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยเริ่มเอาของไปจำนำกันอีกครั้ง ส่วนใหญ่จะเป็นทอง เพื่อนำเงินไปจ่ายค่าเทอมให้ลูกๆ”

ไม่ยากนะครับ ลองหัดอ่านบ่อยๆ พร้อมดูภาพประกอบไปด้วย จะทำให้เข้าได้เร็วขึ้น

วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

หัดอ่านข่าวนำกันดีกว่า


ถ้าเรายังอ่านข่าวภาษาอังกฤษไม่ได้ทั้งหมดก็ไม่เป็นไรเพราะในชีวิตจริงๆ แล้วเราก็ไม่ได้อ่านข่าวในหนังสือพิมพ์ภาษาไทยทั้งหมดเหมือนกัน ดังนั้นหากเราไม่มีเวลามาก(หรือเพิ่งเริ่มหัดอ่าน) เราก็ไม่จำเป็นต้องอ่านข่าวภาษาอังกฤษหมดทั้งข่าวเหมือนกัน อ่านเฉพาะสิ่งที่ทำให้เรารู้เรื่องหรือเข้าใจในข่าว ส่วนที่สำคัญก็คือ ส่วนที่เป็น lead หรือข่าวนำนั่นเอง
ลองดูกันที่ข่าวนี้ก่อนนะครับ
(ตัดมาจากหนังสือพิมพ์ The Nation ฉบับวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐, หน้า 4A)

MEA workers demand PM goes

The Metropolitan Electricity Authority labour’s union yesterday petitioned Council for National Security chairman General Sonthi Boonyaratglin to replace Prime Minister Surayud Chulanont.

เราเล่าให้ฟังเมื่อตอนที่แล้วว่า ส่วนที่เรียกว่า “พาดหัว (Headline)” ของข่าวนั้นค่อนข้างอ่านยากสำหรับมือใหม่ที่ยังไม่คุ้นกับข่าวภาษาอังกฤษนัก แต่หากเราติดตามข่าวอยู่เสมอเราก็จะเดาได้ อย่างเช่น หาดหัวของข่าวนี้ บอกว่าพนักงานของMEA เรียกร้องให้ PM ออกไป
ถ้าเรายังเดาไม่ออกว่า MEA คืออะไร ก็ให้เราอ่านที่Lead ซึ่งจะบอกเราเองว่า MEA คือ Metropolitan Electricity Authority หรือการไฟฟ้านครหลวง ส่วนworkers ก็แปลว่า เจ้าหน้าที่หรือคนงานหรือลูกจ้าง

ส่วน demand แปลว่า เรียกร้อง หรือต้องการ

PM เป็นตัวย่อมาจาก Prime Minister หรือ นายกรัฐมนตรีนั่นเอง

go แปลว่าไป ตรงตัว หรือในที่นี้ก็แปลว่าออกไปจากตำแหน่งนั่นเอง แต่เติม -es เพราะนายกรัฐมนตรีเป็นเอกพจน์ (แล้วจะเล่าให้ฟังเรื่อง เอกพจน์ พหูพจน์ทีหลังครับ)

กลับมาที่ข่าวนำ
ก่อนอื่นต้องหาให้ได้ว่าใคร(who) ทำอะไร(what) ที่ไหน(where) เมื่อไร(when) ทำไม(why) อย่างไร(how) การเดาอย่างนี้จะทำให้อ่านง่ายขึ้น

Who ในที่นี้ก็คือ The Metropolitan Electricity Authority labour’s union หรือสหภาพแรงงานของการไฟฟ้านครหลวง
พวกเขาทำอะไรล่ะ (what) ก็ยื่นข้อเรียกกร้องหรือ petitioned ให้กับ Council for National Security chairman General Sonthi Boonyaratglin หรือพลเอกสนธิ บุญกลินประธานคณะมนตรีความมั่งแห่งชาติหรือ คมช. (CNS)

Petition ถ้าเป็นคำนาม แปลว่า A formal message requesting something that is submitted to an authority หรือข้อความร้องเรียนเป็นทางการที่เขียนขึ้นเพื่อส่งให้ผู้มีอำนาจหรือเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ถ้าเป็นกริยาก็แปลว่า Write a petition for something to somebody; request formally and in writing หรือยื่นคำร้องให้เจ้าหน้าที่บ้านเมือง
จะpetition ทำไมล่ะ ก็เพื่อให้ to replace Prime Minister Surayud Chulanont เปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ นั่นเอง

when ก็เมื่อ วานนี้หรือ yesterday
ในข่าวนำน้ำไม่ได้บอกว่า ทำไม(why) อย่างไร(how) อาจไปบอกในparagraph ต่อๆไป
เห็นมั้ยล่ะครับว่าไม่ยากนักหากเราอ่านบ่อยๆ สะสมคำศัพท์วันละคำสองคำก็คล่องไปเองครับ
แล้วพบกันคราวหน้าครับ
Bye see ya! And have a nice day.

วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2550

ภาษาอังกฤษวันละหน่อยกับลุงวรรณ





การแนะนำลูกค้า (Introducing Clients)


"Mr. Mitchell, I’d like you to meet my manger,

Henry Lewis?”

Mr. Mitchell อาจพูดต่อไปว่า “How do you do?”

Mr. Henry ก็ตอบว่า “How do you do?” เหมือนกัน

Mr. Mitchell ก็อาจตอบว่า “Please to meet you.”

หรือ “Good to meet you.” หัดใช้บ่อยให้การทักทายเป็นไปอย่างอัตโนมัติและสุภาพ

เคล็ดในการพูด (Speaking Tips)
“How do you do?” ในภาษาอังกฤษนั้นค่อนข้างจะเป็นทางการในภาษา อังกฤษแบบ British English และการตอบในคำถามนี้ต้องเป็นการตอบทวนคำถามด้วย “How do you do?” เท่านั้น ก็แปลกดี เรียนรู้มรรยาทไว้ก็ดี ไม่เสียหลายครับ


ในงานเลี้ยงแบบไม่เป็นทางการ (At a more informal party)

เมื่อเราแนะนำให้เพื่อนสองคนรู้จักกัน เราก็พูดง่ายๆ สั้นๆ ว่า “John, this is Sarrah.” แค่นี้ก็รู้เรื่องกันแล้ว ไม่ต้องนึกถึงประโยคยาวๆ ให้ยุ่งยาก
Source: http://www.english-at-home.com/

การอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ


มีหลายคนมักถามผู้เขียนว่า “จะอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษอย่างไรให้รู้เรื่อง” เป็นคำถามที่เรามักได้ยินบ่อยๆ การอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษนั้นไม่ได้ยากกว่าที่เราคิดกัน แค่ให้รู้ว่าส่วนไหนเป็นส่วนไหน อ่านอย่างถูกวิธีเราก็สามารถเดาเรื่องในข่าวได้ แม้จะไม่ทั้งหมดก็ตาม
ก่อนอื่นต้องรู้เบื้องต้นก่อนว่าข่าวประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ เช่น
ส่วนแรก ได้แก่ Headline หรือที่บ้านเราเรียกว่า “พาดหัว”
ส่วนต่อไปเรียก Sub-Head หรือหัวรอง (บางทีก็ไม่มี)
ส่วนต่อไปเรียก ส่วนนำหรือ Lead
ถัดมาเรียก Body หรือตัวข่าว
ลองดูข่าวข้างล่างนี่ก่อนแล้วตอบคำถามในใจ(ไม่ต้องตอบดังๆ ก็ได้ เดี๋ยวชาวบ้านจะหาว่าบ้า )ว่า
Headline อยู่ไหน

Junta backs call for state religion
By Wassana Nanuam and Mongkol Bangprapa

CNS chairman Sonthi Boonyaratkalin, who is Muslim, said that recognising Buddhism as the national religion would have no impact on southern violence. "Whether or not the stipulation is added to the constitution, these thugs will continue their attacks," he said.
ถ้าเจอแล้ว ลองอ่านดูว่ารู้เรื่องหรือเปล่า ถ้าไม่รู้เรื่องก็ไม่เป็นไร
ลองอ่านส่วนต่อไปที่เรียกว่าส่วนนำหรือLead ซึ่งจะบอกเราว่า
Who? ใคร
What? ทำอะไร
Where? ที่ไหน
When ? เมื่อไร
Why? ทำไม
How? อย่างไร
อย่างไรก็ตาม ส่วนนำของข่าวอาจไม่มีทุกส่วนทั้งหมด แต่จะมีบางส่วนก็ได้ อาจมีแค่ Who What Where ก็มี
ตานี้มาลองดูกันทีละส่วน
Who? ในที่นี้เป็นCNS chairman Sonthi Boonyaratkalin พลเอกสนธิ บุญกลิน ประธาน คมช. หรือ CNS chairman (ย่อมาจาก Council of National Security) ส่วนวลีที่ว่า who is muslim นั้นเป็นส่วนขยายว่า ท่านเป็นมุสลิม เป็นคนเดียวกันกับพลเอกสนธิ

What? said that recognising Buddhism as the national religion would have no impact on southern violence กล่าวว่าการให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาตินั้นไม่มีผลกระทบต่อความรุนแรงในภาคใต้แต่อย่างใด
Where? ไม่ได้บอกตอนนี้
When ? ไม่มี
Why? ไม่บอกสาเหตุ
How? ก็ไม่มีในส่วนนี้ต้องอ่านส่วนต่อไป
หากต้องการทราบว่า ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ก็ให้ค่อยๆ อ่านในส่วนของเนื้อข่าวหรือ body
ลองอ่านดูนะครับ แล้วจะค่อยๆทะยอยนำมาเล่าสู่กันฟังเรื่อยๆ ครับ ลองฝึกอ่านดูบ่อยๆ จะเดาได้ในที่สุด

จากหนังสือพิมพ์ Bangkok Post วันที่ 25 เม.ย. 50